วิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันภัยจากมัลแวร์

มีเขียนไว้แล้วในแฟนเพจ Mhafai เป็นวิธีเบื้องต้นง่ายๆ ที่น่าเอาใช้กันครับผม

เห็นข่าวมัลแวร์โจมตีเว็บของ SCB น่ากลัวนะฮับ แต่หมามีข้อแนะนำให้อ่านแล้วนำไปใช้

น้องดรอยด์/อ้ายฝน

  • อย่ารูทหรือเจลเบรค ถ้าไม่จำเป็น
  • อย่าติดตั้งแอพที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้ใจเช่น เว็บบิท หรือไม่จากเว็บฝากไฟล์ *ควร*ดาวน์โหลดมาจากแหล่งที่ไว้ใจได้อย่าง Google Play Store หรือ iTunes Store

พี่ซี

  • หมั่นปรับรุ่นเบราว์เซอร์เป็นประจำ เพราะเบราว์เซอร์ปัจจุบันมีสามารถกันมัลแวร์และเว็บหลอกหลวงได้ http://mzl.la/LFolSf
  • ไม่ควรใช้ anti-virus มาจากการโหลดบิท ซื้อ/ดาวน์โหลดจากผู้ผลิตดีกว่า ราคาเดี๋ยวนี้ก็ไม่แพง คุ้มค่ามากๆ ถ้าเทียบกับมูลค่าของข้อมูลเรา เว็บดาวน์โหลดหมาแนะนำเว็บนี้ฮับ http://www.filehippo.com/software/antimalware/
  • ปิดหรือถอนการติดตั้ง Java ก็ได้ ถ้าไม่ได้ใช้งาน ใน Firefox ก็มีวิธีปิดฮะ https://support.mozilla.org/th/kb/java%20applet

วิธีง่ายๆ ที่ทุกคนก็น่าจะทำได้ฮับผม 🙂 🙂 🙂

Continue reading …

เครื่องมือนักพัฒนาของ Firefox ใช้สิ! แล้วคุณจะขาดมันไม่ได้

ในสมัยก่อนนั้น Firefox มีส่วนขยายตัวนึงที่ชื่อว่า Firebug เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับคนทำเว็บเลยก็ว่าได้ ชนิดที่ว่าถ้านักพัฒนาคนไหนใช้ Firebug ไม่เป็นก็ไม่ใช่นักพัฒนาเว็บ และในปัจจุบัน Firefox ก็ได้ใส่เครื่องมือนักพัฒนา มาให้แล้วใน Firefox แค่คลิกที่ปุ่ม Firefox แล้วไปที่ นักพัฒนาเว็บ ก็จะเจอเลย

ซึ่งใน Firefox ที่ผมใช้อยู่ก็มีเครื่องมือนักพัฒนามาให้ชนิดที่ว่าลืม Firebug กันไปได้เลย โดยบทความนี้จะเป็นหน้าสารบัญทีจะมีการปรับข้อมูลทุกครั้งที่มีการเพิ่มบทความที่เกี่ยวกับเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งในส่วนถัดไปของย่อหน้านี้จะเป็นการแนะนำเครื่องมือทั้งหมดที่มีอยู่คร่าว ๆ กันให้ดูก่อน แล้ววันหลังจะไล่เรียงกันไปทีละตัว ๆ

โดยเครื่องมือนักพัฒนาที่มีอยู่ตอนนี้ก็คือ

เริ่มจากการคลิกที่ สลับเครื่องมือ ก็จะปรากฏที่หน้า เว็บคอนโซล ขึ้นมา ซึ่งตัวคอนโซลนี้ก็เอาไว้บอกรายละเอียดเกือบทุกอย่างเช่น คำเตือน ข้อผิดพลาด ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับ javascript, css, การเข้าถึงเครือข่าย และข้อความ log (เช่น console.log) แถมยังมีช่องค้นหาคำที่เราต้องการหาได้ด้วย

ในส่วนถัดมาก็เป็น ตัวตรวจสอบ (Inspector) เครื่องมือนี้เอาไว้จิ้มดูรายละเอียดแต่ละส่วน ๆ ของหน้าเว็บว่ามีอะไรบ้าง ยาวเท่าไหร่ ใช้สีไหน ฟอนต์อะไร ฯลฯ

ตัวดีบั๊ก (Debugger) เอาไว้งานสำหรับดีบั๊กใน javascript โดยเฉพาะสามารถดูเป็นขั้นๆ ได้เลย มีหยุดพักได้ด้วย

เครื่องมือแก้ไขสไตล์ (Style Editor) ก็เอาแก้ไขไฟล์ css ของหน้านั้น ๆ

Profiler เอาไว้สำหรับดูเวลาของฟังก์ชันที่ javascript ใช้ ว่าใช้ไปเท่าไหร่ เหมาะสำหรับคนที่เน้นเรื่องการ optimise

เครือข่าย (Network) ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าถึงเครือข่ายว่า ใช้เวลาเท่าไหร่ ขนาดไหน สถานะอะไร เมธอดไหนบ้าง ที่ค่อนข้างละเอียดมาก และสีสันของเครื่องมือตัวนี้ก็ค่อนข้างสวยเลยทีเดียว

กระดานทดลอง (Scratchpad) เอาเขียน javascript และรัน javascript แบบสดๆ ในหน้าเว็บได้เลย

ตัว highlight หน้าเว็บที่มีสีแตกต่างกัน เอาไว้ดูคร่าว ๆ ว่าแต่ละบล็อกใช้ความกว้างสูงไปประมาณไหน

มุมมองแบบสามมิติ หลายๆ คนน่าจะรู้จักกับเจ้าตัวนี้ดี เอาไว้ดูหน้าเว็บแบบสามมิติตามชื่อเลย พลิกดูซ้ายขวาหน้าล่างได้

มุมมองการออกแบบเชิงตอบสนอง (Responsive Design View) เหมาะสำหรับยุคโมบายล์มือถือสมัยนี้ ที่เวลาทำเว็บต้องทดสอบในหลายขนาดหน้าจอ

และถ้าใครมีจอภาพยาวๆ อยากประหยัดเนื้อที่ด้านความสูงก็มีโหมดแถบข้างมาให้

หรือถ้ามีสองจอจะดีดออกมาเป็นหน้าต่างก็ไม่มีปัญหา

ถ้าไม่ชอบหน้าตาแบบมืด ๆ ก็ปรับเป็นสว่างได้ในหน้าการตั้งค่า แถมยังเลือกปิดเครื่องมือที่ไม่ใช้บ่อยๆ ก็ได้ และก็ยังมีการดีบั๊กโครม (ที่ไม่ใช่ Google Chrome) และ รีโมทอยู่ เอาไว้ใช้ดีบั๊ก Firefox OS ครับผม

จะเก็บหน้านี้ไว้ในที่คั่นเว็บหรือบุ๊คมาร์คไว้เลยก็ได้นะครับ เพราะว่าหน้านี้จะเป็นหน้าหลักเอาไว้เชื่อมต่อเวลามีบทความย่อยของเครื่องมือแต่ละตัว แล้วคุณจะรู้ว่าเครื่องมือพัฒนาเว็บของ Firefox นั้นมีดีแค่ไหน

สิ้นสุดสงครามบราวเซอร์ ?

#273 browsers

พอดี @kengggg ไปสัมภาษณ์กับทาง @Mcotdotnet มีประเด็นที่เกียวกับแวดวงเบราว์เซอร์และเว็บในปัจจุบันที่น่าสนใจเลย เอาบทสัมภาษณ์มาให้อ่านกันครับ สั้น ๆ เข้าใจง่าย

HTTPS ดีจริงหรือ? แล้วทำไมเราถึงควรใช้แทน HTTP

มีคนเคยบอกว่าใช้ HTTPS นั้นปลอดภัยกว่า HTTP เพราะมีการเข้ารหัสนั้นโน้นนี้ เราก็อาจจะก็จะงงว่าเขารหัสแล้วอย่างไรล่ะ? ปลอดภัยจริงเหรอ? วันนี้ผมก็เลยพาคุณมาดูว่า HTTPS นั้นปลอดภัยจริงหรือไม่

ก่อนเข้าเรื่องเรามาทำความรู้จักกับชั้นของ network layers กันนิดนึง ตามปกติการที่เว็บเบราว์เซอร์จะสื่อสารกับเซอร์เวอร์จะต้องผ่านขั้นตอนนี้ก่อน

HTTP(ในที่นี่หมายถึงเบราว์เซอร์) -> TCP -> IP -> Network Interfaces (เช่น สายแลนหรือไวไฟ) -> ออกมหาสมุทรอินเทอร์เน็ต

แต่ถ้าเป็น HTTPS จะมี layer ที่ขั้นกลางระหว่าง HTTP กับ TCP เข้ามา

HTTP -> SSL/TLS (ก็คือ HTTPS) -> TCP -> IP -> Network Interfaces (เช่น สายแลนหรือไวไฟ) -> ออกมหาสมุทรอินเทอร์เน็ต

เพราะฉะนั้นการที่คุณใช้ HTTPS พอร์ท 443 คุณก็ต้องผ่านชั้น SSL/TLS ก่อนถึงออกเน็ตได้ คราวนี้เราก็วกกลับมาเรื่องเก่าว่ามันปลอดภัยจริงหรือไม่ โดยผมจะใช้เครื่องมือที่ network analysis เขามักจะใช้กันอย่าง wireshark ในการดักจับข้อมูลที่รับ/ส่งผ่านเครื่องของผมเอง โดยผมจะใช้เว็บ wikipedia เป็นเว็บทดลอง เพราะ wikipedia นั้นรองรับทั้ง http ธรรมดากับ https ด้วย โดยมาเริ่มกันที่ http ก่อน

สมมติว่าผมจะล็อกอินเข้าเว็บ wikipedia เพื่อไปแก้ไขข้อมูลในชื่อผม (wikipedia ไม่ต้องล็อกอินก็แก้ได้นะจ่ะ มาเพิ่มข้อมูลกันเยอะ ๆ ) โดยมีหน้าให้กรอกตามนี้ ก็กรอกไปและกดปุ่ม ล็อกอิน เพื่อเข้าสู่ระบบ

หน้าล็อกอินของ Thai Wikipedia

หน้าล็อกอินของ Thai Wikipedia

ระหว่างตอนที่ผมเข้าเว็บ wiki ผมก็ใช้ wireshark จับข้อมูลตลอด จนถึงกระทั่งตอนที่ผมส่งข้อมูล ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน เรามาดูกันว่าเราได้อะไรจากการจับข้อมูลครั้งนี้บ้าง

เห็นกันถึง username และ password

เห็นกันถึง username และ password

เห็น source code ของ HTML กันโล่งโจ้งเลย ORZ

เห็น source code ของ HTML กันโล่งโจ้งเลย ORZ

สมมุติว่า wireshark เป็นคนกลางที่ดักจับข้อมูลของเรา (Man-in-the-middle attack) เพื่อไปทำอะไรบางอย่าง เช่น ขโมยข้อมูลล็อกอิน เปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บเพจ บล็อกเว็บ ฯลฯ เขาก็สามารถทำได้โดยง่าย เพราะเขาเห็นทุกอย่าง

Continue reading …

Firefox 10 – 19 มีอะไรใหม่ๆ เจ๋งๆ ใส่มาบ้าง!

หลัง ๆ นี้ Firefox ปรับรุ่นออกมาเรื่อย ๆ บางคุณสมบัติก็ใส่มาโดยที่หลายคนยังไม่รู้ เรามาทบทวนกันดีกว่าว่า Firefox 10 รุ่นหลังสุดนั้นถูกใส่อะไรเข้ามาบ้าง ไปดูกันเลย

มีมุมมองแบบ 3 มิติในเครื่องมือนักพัฒนา

มุมมองสามมิติ

มุมมองสามมิติ

หน้าดูรูปภาพและวิดีโอแบบใหม่พื้นหลังเป็นสีเทา มีการใส่เงาให้ด้วย ดูสวยงามกว่าพื้นขวา

ตัวดูสื่อแบบใหม่

ตัวดูสื่อแบบใหม่

Continue reading …

Mozilla ต้องการคุณ! ช่วยกันแปลผลิตภัณฑ์ของมนุษยชาติ

เมื่อวันศุกร์ 24พฤษภาคมที่เป็นวันหยุดวันวิสาขบูชาที่ผ่านมา ทาง Mozilla Thailand Community ได้มีการจัดกิจกรรมรวมหัวกันแปล Aurora (Firefox รุ่นกำลังพัฒนา) ที่คำหลาย ๆ คำก็ได้ตกหล่นการแปลกันไปเยอะพอสมควร เช่น New Private Window ก็ยังไม่ได้รับการแปล ซึ่งในวันงานก็จัดการที่ร้านกาแฟ The Coffee Bean & Tea Leaf ตรง Siam Center มีมากัน 6 +1 คนได้แก่

ในครั้งนี้ก็ได้เจอตัวจริงของท็อป @teerapatxtop ที่ช่วยกันแปลหน้าเว็บของ Mozilla กันมาได้สักพักใหญ่แล้ว แถมยังได้รุ่นน้องของเต้ย @hapztron อย่างกอล์ฟ Golfzz Imrap และนักศึกษาแพทย์อย่างโจ Korrawit Pruegsanusak มาช่วยกันแปลจนสำเร็จลุล่วง 95% และเคลียร์เป้าหมายสำคัญ ๆ ที่ไม่ใช่ใน Developer และ notnb กันจดหมดสิ้นตามที่ทีม Mozilla l10n ได้แนะนำไว้ ใช้เวลาประมาณ 4-5 ชม. กับคน 6 คน ซึ่งรับรองว่า Firefox 23 นี้ คำแปลที่ตกหล่นก็จะได้รับการแปลเป็นที่เรียบร้อยแน่นอน

กิจกรรมครั้งต่อไปน่าจะเป็นเดือนมิถุนายนหน้านี้ครับผม คิดว่าเป้าหมายถัดไปน่าจะเป็นการแปลตัว Firefox OS นั้นเอง แต่ยังไม่แน่นอน ต้องรอคุยกันอีกทีครับ ถ้าใครสนใจจะแจมก็มาร่วมกลุ่มกันได้ที่ Mozilla Thailand Community บน Facebook ครับ และกิจกรรมครั้งต่อไปก็จะบอกรายละเอียดบนนั้นและที่นี่นั้นแล

สำหรับคนที่อยากแปล แต่อยู่ไกล มาบางกอกไม่ได้ เราก็มีช่องทางใหม่ที่ทำให้คุณช่วยแนะนำคำแปลได้อย่างง่าย ๆ ครับ ซึ่งตอนนี้ก็มีสิ่งที่อยากให้ช่วยแปลกันก็คือ

หน้าเว็บก็ไม่ซับซ้อนอะไรมากครับ อยากจะแนะนำคำไหนก็แค่พิมพ์และคลิกเท่านั้นเอง คำที่ใช้บ่อยๆ ก็มีในหน้าอภิธานศัพท์แล้วตามไปดูกันได้ ไม่ว่าจะมาจากอาชีพไหนคุณก็มาเข้าร่วมกับ Mozilla ได้ครับ เพราะ Mozilla ขับเคลื่อนได้ด้วยผู้คนอย่างเราๆ ไม่ใช่ถูกสั่งงานจากองค์กรธุรกิจ ไม่ต้องกลัวว่าจะแปลผิดแปลถูก แปลผิดก็แก้ได้ ขอให้ได้ลองทำก่อน ทางกลุ่มเราถือคติว่า release early release often ครับผม อยากให้ทุกคนมาช่วยกันจริง ๆ จากใจ… Continue reading …

Epic ปล่อย Epic Citadel รุ่น HTML5 ให้ชาวโลกเล่นแล้ว อนาคตของเว็บสามมิติก็ไม่ใช่เรื่องโม้อีกต่อไป

ยังจำได้ไหมเมื่อเดือนก่อนที่ผู้ผลิต Unreal Engine อย่าง Epic จับมือกับ Mozilla ช่วยกันแปลง Unreal Engine 3 จาก C++ ไปเป็นจาวาสคริปต์ แล้วก็มีวิดีโอที่ออกมาโชว์ว่ามันทำได้จริง ๆ นะ แต่ทว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะให้เชื่อทันทีโดยไม่ได้ ต้องมีการพิสูจน์ด้วยตัวเองเสียก่อนถึงจะเชื่อ พอดิบพอดีทีทาง Unreal ก็ได้ปล่อย “Epic Citadel” รุ่น HTML5 ออกมา ให้ลองสัมผัสดูว่าพลังของจาวาสคริปต์ กับ WebGL และเทคนิคการแปลงโค้ดของจาวาสคริปต์ตัวใหม่อย่าง asm.js ที่ผสมกันแล้ว มันทำได้จริง ไม่ได้สมรักษ์แต่อย่างใด และสองรูปข้างล่างคือผลการทดสอบกับเครื่องของผมที่ใช้ซีพียู AMD ที่มีหน่วยประมวลผลกราฟฟิคในตัว (APU) ครับ

Firefox 21 ไม่มี asm.js

รูปบนคือ Firefox 21 รุ่นปัจจุบันที่ไม่มี asm.js ใส่เข้ามา ส่วนรูปล่างเป็นรูปของ Firefox 22 Beta ที่มี่ asm.js เข้ามาแล้วและถูกเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้นมาเลย การทดสอบก็ทดสอบกับจอ 23 นิ้วที่ใช้ความละเอียด 1920 x 1080 ก็ถือว่าละเอียดพอตัว (บังเอิญมาก ๆ ที่ตอนทดสอบเก็บซีนเดียวกันได้พอดิบพอดี ทั้งที่ไม่ได้ตั้งใจเลย)

Firefox 22 Beta เปิดใช้ asm.js มาในตัว

ด้วยที่ตัว Firefox นั้นล็อก framerate ไว้ที่ 60 ก็เลยทำให้ได้ชัดว่า Firefox 22 ที่มี asm.js นั้นทำได้ 55 fps เกือบเต็ม 60 ส่วนที่ไม่มี asm.js ก็หล่นลงมาที่ 34 fps จากที่ผมดูตอนรัน benchmark ซีนที่มีรายละเอียดเยอะเช่นฉากในหมู่บ้านและฉากน้ำตก อันที่มี่ asm.js การกระตุก (lag) แทบจะมีน้อยมาก ๆ ฉากโล่งกว้างก็รันได้เต็ม 60 fps ตลอด

สำหรับคนที่อยากทดสอบว่า มันเป็นจริงหรือเปล่า ก็ลองทดสอบกันได้ที่ Epic Citadel สำหรับ HTML5 สำหรับเบราว์เซอร์ที่รองรับ WebGL ก็ควรจะเล่นได้ทันที โดยข้อมูลตาม FAQ บอกไว้ว่า

  • Firefox: รุ่นล่าสุด 21 รองรับ WebGL อยู่แล้วสามาถเล่นได้ทันที แต่ใน Firefox 22 Beta ขึ้นไปมี asm.js จะทำให้การทดสอบนั้นดูดีและเร็วกว่ารุ่นปกติ
  • Chrome: ก็รองรับ WebGL และเปิดใช้งานในตัว แต่ทว่ายังมีปัญหาอยู่ ตอนนี้ทาง Epic กำลังคุยกับทีมพัฒนา Chrome อยู่ว่าติดปัญหาตรงไหน อนาคตอันใกล้ใช้ได้แน่นอน
  • Opera และ Safari: สองตัวนี้ก็รองรับ WebGL แต่ต้องไปเปิดการใช้งานเอง และตอนนี้ก็ยังใช้กับ Epic Citadel ไม่ได้ แต่สำหรับ Safari ทาง Epic เขาบอกว่าเดี๋ยวจะทำให้ใช้ได้เร็ว ๆ นี้

ส่วนเบราว์เซอร์ที่ไม่สนับสนุนมาตรฐาน WebGL อย่าง Internet Explorer ก็หมดสิทธิ์ที่จะทดสอบแน่นอนจนกว่า Microsoft จะรองรับ WebGL

การใช้งานและเล่นเกมบนเว็บแบบสามมิติ โดยที่ไม่ต้องใช้โปรแกรมเสริมเสริมใด ๆ ทั้งสิ้น (โดยเฉพาะ Flash) ด้วยการใช้มาตรฐานเปิดอย่างจาวาสคริปต์กับ WebGL ตอนนี้เป็นจริงแล้ว ที่เหลือก็แค่ เรา ช่วยบอกผู้สร้างเบราว์เซอร์ให้ช่วยพัฒนาให้สนับสนุนมาตรฐานเปิดพวกนี้หน่อย เพื่อที่อนาคตของโลกแห่งเว็บที่เปิดกว้างกัน

ที่มา – Unreal Engine

Firefox 22 Beta ใส่ WebRTC และ asm.js เข้ามาแล้ว!

Firefox 22 ที่จะมาตอนปลายเดือนมิถุนายนนี้ มีคุณสมบัติหลาย ๆ อันที่น่าสนใจใส่เข้ามา ก็เลยเอามาบอกเล่าให้ดูเป็นตัวอย่างก่อน ซึ่งมันก็มี

  • ใส่ WebRTC มาแล้วและเปิดการใช้งานเป็นค่าปริยาย
  • asm.js ที่รีดพลังการคำนวณคณิตศาสตร์ของจาวาสคริปต์ ก็ถูกใส่และเปิดใช้ด้วยเช่นกัน
  • มี Web Notifications API ก็ถูกใส่เข้ามาแล้วเป็นที่เรียบร้อย
  • ใส่ Font Inspector เข้ามาในเครื่องมือนักพัฒนาเว็บ กดปุ๊บรู้ปั๊บเลยว่าฟอนต์ตัวนี้คือฟอนต์อะไร
  • CSS3 Flexbox ช่วยให้การจัดหน้าเว็บนั้นง่ายขึ้น ถูกเปิดใช้งานแล้ว หลังจากใส่เข้ามาในรุ่น 18 ภายใต้ -moz
  • มีตัวจัดการส่วนเสริมมีตัวจัด บริการ (เช่น Messenger for Firefox) เข้ามาให้แล้ว ช่วยให้เราปรับแต่ง ปิด/เปิด ได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ก็ยังมีการปรับแต่งแก้ไขที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง ไว้มันเป็นสถานะ release ตอนปลายเดือนหน้าเมื่อไหร่ค่อยมาอ่านรายละเอียดเต็ม ๆ อีกทีครับ

ที่มา – Firefox Beta Notes

Firefox 21 มีสมุดรายงานสุขภาพและเพิ่มบริการ Social API

ดาวน์โหลด Firefox 21 ได้ที่

  • รุ่น Desktop ธรรมดาและรุ่น Android

เจอกันอีกแล้วสำหรับ Firefox รุ่นใหม่ที่ออกทุกๆ 6 สัปดาห์ สำหรับใครที่สงสัยว่าทำไม Firefox ปรับรุ่นบ่อยจัง นั้นก็เพราะว่าเทคโนโลยีด้านเว็บมันมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา บางมาตรฐานก็มีการปรับปรุงหรือออกรุ่นใหม่อย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้น Firefox จึงต้องมีความรวดเร็วในการรองรับเทคโนโลยีให้ทันเทคโนโลยี และผลประโยชน์ของการปรับรุ่นบ่อยๆ นั้นก็ส่งผลดีไปถึงผู้ใช้อย่างพวกเราโดยตรง

คนเราก็ต้องใส่ใจสุขภาพ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ และหมั่นตรวจเช็คสุขภาพ Firefox ยุคหลังๆ ก็เน้นด้านประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งใน Firefox 21 นี้ก็ได้มีรายงานสุขภาพของ Firefox (Firefox Health Report) ตัวรายงานนี้มันก็บอกข้อมูลเชิงลึกที่คนธรรมดาอ่านออก ว่าเรามีส่วนเสริมอยู่กี่ตัว ค้างครั้งล่าสุดเมื่อไหร่ ความเร็วในการเปิดปิด Firefox ของเราเป็นปกติไหม? ข้อมูลเรานี้ก็จะถูกส่งไปยัง Mozilla ภายใต้นโยบายความเป็นส่วนตัวซึ่งจะไม่มีการส่งข้อมูลเฉพาะของคุณออกไปแน่นอน เราสามารถเลือกปิดได้ แต่แนะนำให้เปิดว่า เพื่อที่ Mozilla จะได้นำข้อมูลพวกนี้ไปปรับปรุง Firefox ให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

Continue reading …

ORBX.js: เมื่อพลังของ JavaScript และ WebGL ก่อให้เกิด GPU Cloud

ทุกวันนี้เวลาเราจะใช้งานหรือเล่นเกมใหม่ ๆ โปรแกรมพวกนั้นมักจะต้องการเสป็คที่ค่อนข้างสูงเช่น แรม 4 GB ขึ้นไป การ์ดแสดงผลต้องรหัสเท่านั้นเท่านี้ แต่เมื่อวานนี้ ORBX.js ได้ทำลายกำแพงนั้นออกไปแล้ว ลองดูตัวอย่างจากวิดีโอข้างล่างนี้

จากตัวอย่าง ORBX.js ได้ทำหน้าที่เป็นตัวสตรีมมิ่งวิดีโอความละเอียด 1080p โดยใช้ JavaScript ในการแสดงผล ไม่ได้ใช้ <video> ของ HTML5, WebM หรือ H.264 เลย แถมเปลืองแบนด์วิธน้อยกว่าถึง 25%

ตัวอย่างที่ 2 ก็เป็นการเปิดโน้ตบุ๊คสองตัวเทียบกับ โดยทั้งสองเปิดโปรแกรม 3ds Max 2014 เหมือนกัน เครื่อง Alienware เป็นโปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเลย ส่วน MacBook Pro นั้นเปิดใน Firefox ที่สตรีมมิ่งโดย ORBX.js

ตัวอย่างสุดท้ายก็คือการเปิดเกม Left 4 Dead ใน Steam บนโหมด Big Picture ที่เป็นโหมดเต็มจอและมีการใช้งานด้านกราฟฟิคสูงกว่าโหมดปกติ

ORBX.js เป็นไลบารี่ของ JavaScript เกี่ยวกับการสร้างภาพ (เช่น วิดีโอ เกม) ในระบบ Cloud และถูกถ่ายทอดมายังเบราว์เซอร์ผ่านการสตรีมมิ่ง เพื่อให้เห็นภาพ สำหรับคนแก่ประสบการณ์หน่อยคงเข้าใจคำว่า Thin Client ส่วนคนที่ไม่เชี่ยวชาญคอมให้นึกถึงการใช้งาน TeamViewer หรือโปรแกรมรีโมททั้งหลายแหล่ครับ หลักการมันคล้ายๆ กัน

ORBX.js พัฒนาโดยบริษัท OTOY ที่ถูกซื้อไปโดยบริษัท Autodesk ซื้อไปเมื่อไม่นานมานี้ และได้ร่วมมือกับ Mozilla พัฒนา Firefox รุ่นพิเศษที่มีทั้ง ORBX.js และ asm.js ที่สร้างความตื่นตะลึงไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ มาใช้งานร่วมกัน อย่างที่เห็นในวิดีโอสามข้างบน ทำให้การสาธิตเป็นไปอย่างไหลลื่นและโชว์พลังของ JavaScript ว่า มีพลังแทบจะเรียกว่าเทียบเท่ากับซอฟท์แวร์ที่ใช้งานบนระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป (Native Client) โดยคุณ  Brendan Eich (CTO ของ Mozilla และผู้สร้างภาษา JavaScript) ก็ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานของการสาธิตนี้ที่จัดโดย Autodesk ถึงกับต้องมาเขียนบล็อกว่า วันนี้ผมเห็นอนาคตใหม่

ลองมาจิตนาการกันว่า ORBX.js จะก่อนให้เกิดอะไรได้บ้าง

  • วงการภาพยนต์: ผู้จัดจำหน่ายหนังไม่ต้องกังวลกับระบบป้องกันลิขสิทธิ์ (DRM) ในวิดีโอแล้ว แค่สตรีมหนังพร้อมแปะลายน้ำมากับวิดีโอ (ตอนนี้มีบริการบ้างเจ้าเริ่มอยากใช้งาน ORBX.js)
  • การทำงาน: แค่ซื้อคอมพิวเตอร์ในระดับที่พอใช้งานได้ แล้วก็ใช้โปรแกรมที่ต้องเสป็คสูง (เช่น 3ds Max, Maya หรือ After Effects) ผ่านการสตรีมมิ่งก็เพียงพอ และเป็นไปไปได้อีกก็คือใช้งานผ่านมือถือ หรือแท็บเล็ท ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกมาก และก่อให้เกิดผลิตภาพที่มากขึ้นต่อการทำงานอีกด้วย
  • วงการเกม: การเล่นเกมผ่านเบราว์เซอร์น่าจะเป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับ Cloud gaming และ ORBX.js ได้อย่างดีมาก ในแง่ของการเล่นเกมประสิทธิภาพสูงโดยใช้เสป็คต่ำและใช้งานพลังงานน้อย ซึ่งในกรณีของอุปกรณ์พกพามันจะส่งผลมากๆ ในเรื่องของแบตเตอรี่

ORBX.js กำลังอยู่ในขั้นของการพัฒนาและไม่ได้ถูกกั๊กเทคโนโลยี แค่เบราว์เซอร์รองรับ WebGL กับ JavaScript ก็พอ ซึ่งเบราว์เซอร์ส่วนใหญ่ก็มีการรองรับอยู่แล้ว คาดว่า ORBX.js น่าจะอยู่ในสถานะที่เปิดใช้งานได้ทั่วไปอีกคงไม่นานนัก และน่าจะเป็นตัวก่อให้เกิดคลื่นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอีกระลอกนึง

ความคิดเห็นส่วนตัว: ยังไม่รู้รายละเอียดของ ORBX.js มากเท่าไหร่ ถึงจะเป็นไลบารี่ที่เขียนขึ้นโดยบริษัทเอกชนก็จริง  ซึ่งผมคิดว่า ORBX.js ไม่น่าจะเป็นไลบารี่ปิด (เพราะเลือก Mozilla เป็นพาร์ทเนอร์ของการสาธิต ซึ่ง Mozilla เป็นสัญลักษณ์ของเทคโนโลยีเปิดอยู่แล้ว) ซึ่งการเปิดไลบารี่และให้เบราว์เซอร์อื่น ๆ ได้เข้าร่วมการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งก็ส่งต่อบริษัแม่ Autodesk ที่จะทำให้ขายซอฟ์แวร์ได้มากขึ้นเช่นกัน ถ้า ORBX.js สร้างเทคโนโลยีใหม่ตามที่เห็นกันในการสาธิตได้จริง ๆ

ที่มา – Brendan Eich และ Otoy